หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ความได้เปรียบของคนไทยในการเรียนภาษาจีน

        คนที่เคยคิดจะเรียนภาษาจีนแต่คิดว่าภาจีนนั้นยากเลยไม่อยากเรียนวันนี้เราจะมาเสนอแนวคิดใหม่ให้ท่านหันมาเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนภาษาจีนถามว่าเรียนภาษาจีนยากไหม ขอตอบว่าไม่ยากครับ หรืออย่างน้อยจะไม่ยากอย่างที่หลาย ๆ ท่านคิด ถ้าคุณรู้สึกคำตอบนี้ยังไม่ชัดเจนพอก็ขอบอกว่า สำหรับธรรมชาติของคนไทยแล้ว ภาษาจีนเรียนง่ายกว่าภาษาอังกฤษมาก ถ้าให้คนไทยคนหนึ่งที่ไม่เคยเรียนทั้งภาษาทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษมาเริ่มเรียนสองภาษานี้พร้อม ๆ กัน โดยปัจจัยในด้านอื่น ๆ เหมือนกันหมดจะพบว่าเมื่อเรียนไปสักระยะหนึ่ง พูดภาษาอังกฤษยังได้ไม่เท่าไหร่แต่ภาษาจีนไปไกลโลดแล้ว มีนักเรียนจำนวนมากที่เรียนภาษาจีนต่างยอมรับว่า เรียนภาษาจีนแค่ร้อยกว่าชั่วโมงก็สามารถพูดได้มากกว่าภาษาอังกฤษที่เรียนมาตั้งแต่เด็ก ถูกต้องแล้วครับ ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะว่าคนไทยเราได้เปรียบกว่าชาติอื่น ๆ ในการเรียนภาษาจีน กล่าวคือ ภาษาไทยกับภาษาจีนคล้ายคลึงกันมาก

โดยทั่วไปแล้ว คำว่า 'ภาษา' ที่เราพูดถึงในภาษาไทยหมายถึงสองส่วนคือ
1。ภาษาที่พูดออกมาเป็นเสียง ประกอบด้วยระบบการออกเสียง ระบบคำศัพท์ ระบบไวยากรณ์
2。ระบบการเขียน (หรือระบบอักษร)

      ที่คนไทยทั่ว ๆ ไปรู้สึกว่าภาษาจีนนั้นเรียนยาก เพราะไปเห็นระบบการเขียนที่สลับซับซ้อนของภาษาจีน ซิ่งเหมือนกับเป็นภาพลวงตาที่พลอยทำให้เข้าใจผิดว่าภาษาจีนเรียนยากกว่าภาษาอื่น ๆ ในส่วนนี้คงต้องยอมรับว่าระบบการเขียนของภาษาจีนเป็นระบบการเขียนที่สลับซับซ้อนมาก แต่ถ้าวิธีการเรียนการสอนถูกต้อง ก็ไม่ใช่ว่าจะยากเกินไป
      แต่ในอีกด้านหนึ่ง อยากให้คนไทยที่เรียนภาษาจีนมีความมั่นใจว่าคนไทยเราได้เปรียบมากในการเรียนภาษาจีน เพราะนอกจากระบบการเขียนแล้ว ส่วนอื่น ๆ ของภาษาจีนคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก กล่าวคือ นอกจากภาษาบางภาษาในตระกูล Tai (ไท) แล้ว ในโลกนี้คงไม่มีภาษาใดจะใกล้เคียงกับภาษาจีนมากกว่าภาษาไทยได้อีก ความคล้ายคลิงกันระหว่างภาษาจีนกับภาษไทย รวมทั้งความได้เปรียบของคนไทยในส่วนนีจะช่วยให้คนไทยเรียนรู้ภาษาจีนได้เร็วเรียนรู้ได้ง่าย จะไม่ฝืนความรู้สึกและความเคยชินในการใช้ภาษาจนมากเกินไปเหมือนเรียนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ดังนั้นการที่จะทำให้คนเองสามารถพูดภาษาจีนในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันและการทำงานได้พอสมควร จึงไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับคนไทย

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

时间 เวลา ในภาษาจีน



มีเวลา 3 แบบ
  A. แบบที่ 1 ใช้คำว่า '点'(diǎn, นาฬิกา/โมง) บอกหน่วยชั่วโมงและคำว่า '分'(fēn) บอกหน่วยนาที ในภาษาพูด เราสามารถละหน่วยนาที '分' ได้ แต่หากหน่วยนาทีน้อยกว่า 10 จะต้องเติมคำว่า '零'(líng, ศูนย์) ไว้หน้าหน่วยนาทีด้วย
  B. แบบที่ 2 หากหน่วยนาทีอยู่ในช่วง 30 นาทีแรกของชั่วโมง จะใช้คำว่า '过'(guò) ซึ่งมีความหมายว่า 'ผ่าน' ในการบอกเวลา เช่น '六点过八分'(liù diǎn guò bā fēn) หมายถึง 'ผ่านเวลา 6 นาฬิกามาแล้ว 8 นาที' การบอกเวลาแบบนี้จะไม่ละคำว่า '分'(fēn)
  C. แบบที่ 3 หากหน่วยนาทีอยู่ในช่วง 30 นาทีหลังของชั่วโมง จะใช้คำว่า '差'(chà) ซึ่งมีความหมายว่า 'ขาด' ในการบอกเวลา เช่น '差五分六点'(chà wǔ fēn liù diǎn) หมายถึง 'ขาดอีก 5 นาทีจะเป็นเวลา 6 นาฬิกา'
 2) การบอกช่วงเวลา 15 นาทีและครึ่งชั่วโมง
'刻'(kè) หมายถึงช่วงเวลา 15 นาที ซึ่งเท่ากับ ¼ ชั่วโมง
'半'(bàn) หมายถึง “ครึ่ง”
 3) คำศัพท์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวลา
 a. 小时(xiǎo shí) ชั่วโมง (คำบอกระยะเวลาหรือช่วงเวลา)
 b. 分钟(fēn zhōng) นาที (คำบอกระยะเวลาหรือช่วงเวลา)
 c. 上午(shàng wǔ) ช่วงเช้า
 d. 下午(xià wǔ) ช่วงบ่าย
 ตัวอย่างการบอกเวลา
10: 28 十点二十八分(shí diǎn èr shí bā fēn) 十点二十八(shí diǎn èr shí bā)
7:00  七点(qī diǎn) 七点整(qī diǎn zhěng)
9:07  九点零七分(jiǔ diǎn líng qī fēn) 九点零七(jiǔ diǎn líng qī)
4:35  四点三十五分(sì diǎn sān shí wǔ fēn) 四点三十五(sì diǎn sān shí wǔ)
5:15  五点十五分(wǔ diǎn shí wǔ fēn) 五点一刻(wǔ diǎn yī kè)
6:45  六点四十五(liù diǎn sì shí wǔ) 七点差一刻(qī diǎn chà yī kè)
12:30  十二点三十分(shí èr diǎn sān shí fēn) 十二点半(shí èr diǎn bàn)


วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

รอบรู้เมืองจีน

ที่ตั้งตั้งอยู่ด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับว่าใหญ่ที่สุดของทวีปเอเชีย มีพรมแดนติดต่อประเทศต่าง ๆ โดยรอบ 15 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีเหนือ รัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน เคอร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล สิกขิม ภูฐาน พม่า ลาว และเวียดนาม โดยมีเส้นพรมแดนทางบกยาวกว่า 2 หมื่นกิโลเมตร ขณะที่ทิศตะวันออกและทิศใต้จดทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้
ประชากรประมาณ1,347.3 ล้านคน ไม่รวมเขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน (ปี2554)
เมืองหลวงปักกิ่งหรือเป่ยจิงตามภาษาราชการจีน ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศ ศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจการค้า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม เป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ หน่วยงานของสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศ สำนักข่าวจากต่างประเทศ รวมทั้งบริษัทต่างชาติจำนวนมาก 

แผนที่-จีน
นายเติ้ง เสี่ยวผิง
รูปแบบการปกครอง สถาปนา ประเทศเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2492 มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนดำเนินการปกครองประเทศตามแนวทางพื้นฐานของลัทธิมาร์กซ์ -เลนิน และความคิดเหมา เจ๋อตง โดยประยุกต์เข้ากับแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความทันสมัยให้แก่ระบอบสังคมนิยม ของนายเติ้ง เสี่ยวผิง พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นแกนนำในการปกครอง โดยมีพรรคการเมืองอื่นอีก 8 พรรค เป็นแนวร่วม ภายใต้การปกครองในลักษณะสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแบบจีน


เขตการปกครอง
การปกครองส่วนกลางแบ่งออกเป็น 23 มณฑล (รวมถึงไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง (มองโกเลีย หนิงเซี่ย ซินเจียง กวางสี และทิเบต) 4 มหานครที่ขึ้นต่อส่วนกลาง (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ(ฮ่องกง และมาเก๊า) สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคยังแบ่งย่อยออกเป็นจังหวัด (Prefecture) มี 159 จังหวัด อำเภอ (County) มี 2,017 อำเภอ เมือง (City) มี 350 เมือง และเขตในเมืองต่างๆ ประมาณ 630 เขต
ธงชาติจีน
ธงชาติ 
ธงชาติจีนเป็นรูปดาวสีเหลือง 5 ดวงบนพื้นสีแดง ดาวดวงใหญ่หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นผู้นำ ดาวเล็กทั้ง 4 ดวง หมายถึง ชนชั้น ที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมจีน คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อย และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ ซึ่งมีความหมายถึงเอกภาพของประชาชนจีนทุกชนชั้นภายใต้การนำของพรรค คอมมิวนิสต์จีน
ชนชาติจีน
ชนชาติ
มีชนชาติต่าง ๆ อยู่รวมกัน 56 ชนชาติ โดยเป็นชาวฮั่น ร้อยละ 93.3 ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ชนเผ่าจ้วง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตปกครองตนเองกวางสีและมณฑลยูนนาน ชนเผ่าหุยในมณฑลหนิงเซี่ยและกานซู ชนเผ่าอุยกูร์ในมณฑลซินเกียง ชนเผ่าหยีในมณฑลเสฉวน ชนเผ่าทิเบตในเขตปกครองตนเองทิเบตและมณฑลชิงไห่ ชนเผ่าแม้วในมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว ชนเผ่าแมนจู ในมณฑลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชนเผ่ามองโกลในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในและซินเจียง ชนเผ่าไตหรือไทในมณฑลยูนนาน และชนเผ่าเกาซันในไต้หวัน
ศาสนาในจีน
ภาษา
ภาษาจีนกลาง (ผู่ทงฮว้า普通话) เป็นภาษาราชการ ชาวจีนในมณฑลต่างๆ มีภาษาพูดท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น เสฉวน หูหนาน แต้จิ๋ว ไหหลำ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ฮักกา และเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น และการออกเสียงภาษาจีนกลางก็มีสำเนียงเพี้ยนไปตามท้องถิ่น

ศาสนา
ลัทธิขงจื้อ เต๋า พุทธ อิสลาม และคริสต์ โดยเฉพาะความคิดลัทธิขงจื้อและเต๋ามีอิทธิพลหยั่งรากลึกซึ้งในภาษาและ วัฒนธรรมของจีนมานับพันๆ ปี
เงินหยวน
เงินตรา
สกุล เงินเรียกว่า “เหรินหมินปี้” (人民币)โดยมีหน่วยเรียกเป็น “หยวน” (元)มีอัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน เท่ากับ 4.68 บาท 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 6.504 หยวน 1 ยูโร เท่ากับ 9.131 หยวน (ปรับปรุงเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2554

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ภาษาจีนวันละคำ

1.    我明白了。
wŏ míngbái le.
หว่อ หมิง ป๋าย เลอ
ฉันเข้าใจแล้ว
I see.

2.    我不干了!
wŏ bú gàn le.
หว่อ ปู๋ กั่น เลอ
ฉันไม่ทำแล้ว
I quit!

3.    我也是。
wŏ yě shì.
หวอ เย่ ซื่อ
ฉันก็ด้วย / ฉันก็เป็นเหมือนกัน/ฉันก็เหมือนกัน
Me too.

4.    天哪!
tiān na !
เทียน หน่า
สวรรค์ ! / พระเจ้า!
My god!

5.    不行!
bù xíng!
ปู้ สิง
ไม่ได้ /ไม่มีทาง
No way!

6.    来吧!
lái ba!
หลาย ป่ะ
มาเถอะ / มาเหอะ
Come on.

7.    等一等。
děng yì děng.
เติ่ง อี้ เติ่ง
รอสักครู่
Hold on.

8.    我同意。
wŏ tóngyì.
หว่อ ถง อี้
ฉันเห็นด้วย
I agree

9.    还不错。
hái bú cuò.
หาย ปู๋ ชั่ว
ไม่เลวเลยทีเดียว
Not bad.

10.   还没。
hái méi.
หาย เหมย
ยังไม่
Not yet.