หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

HSKการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน Hanyu Shuiping Kaoshi (HSK)

(HSK)การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน Hanyu Shuiping Kaoshi (HSK)


การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน Hanyu Shuiping Kaoshi (HSK)
การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) คือการวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง (คล้ายกับการสอบ TOEFL ในภาษาอังกฤษ) จัดโดยสำนักงานดูแลการสอนภาษาจีนเป็นภาษาที่สองของกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สาขาหลักที่มีการจัดสอบในประเทศไทย คือ การวัดระดับความรู้ภาษาจีนระดับพื้นฐาน ระดับต้น / กลาง และระดับสูง


ตั้งแต่ปี 2548 สำนักงานดูแลการสอนภาษาจีนเป็นภาษาที่สองของจีนได้กำหนดการสอบวัดระดับภาษาจีนขึ้นใหม่อีก 4 สาขา คือ สาขาวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับเด็ก สาขาธุรกิจ สาขาเลขานุการ และสาขาการท่องเที่ยว ในการนี้ทางสำนักงานดูแลการสอนภาษาจีนเป็นภาษาที่สองของกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แต่งตั้งมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง วิทยาเขตกรุงเทพฯ ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นผู้รับผิดชอบการจัดสอบสาขาใหม่ทั้งสี่สาขาในประเทศไทย รวมถึงการจัดสอบ HSK หลักในเขตภาคตะวันออกของไทยอีกด้วย


การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนทั่วไป HSK

ประโยชน์ของการสอบ HSK
ผู้ที่สอบผ่าน HSK ขั้น 3 (เทียบเท่า ขั้น A ของระดับพื้นฐานและขั้น C ของระดับต้น / กลาง) ขึ้นไป สามารถเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศจีนในคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และ แพทย์ศาสตร์แผนตะวันตกได้ และมีสิทธิที่จะสอบ HSK สาขาธุรกิจ HSK สาขาเลขานุการ และ HSK สาขาการท่องเที่ยว

ผู้ที่สอบผ่าน HSK ขั้น 6 ขึ้นไป สามารถศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศจีนในคณะศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์แผนจีน

ผู้ที่สอบผ่าน HSK ขั้น 9 ขึ้นไป สามารถศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศจีนในระดับปริญญาโท

ผู้ที่ได้รับใบรับรองการสอบ HSK ทั้งระดับพื้นฐาน ระดับต้น / กลาง และสูงนั้น เวลาศึกษาต่อในประเทศจีนสามารถได้รับการยกเว้นเรียนวิชาภาษาจีนในระดับที่เทียบเท่ากับระดับที่สอบผ่านได้ และยังสามารถใช้ใบรับรองนี้รับรองมาตรฐานความรู้ภาษาจีน เวลาสมัครงานได้ทั่วโลก

กลุ่มเป้าหมาย 
1. HSK ระดับพื้นฐาน (Beginners’ HSK) เหมาะสำหรับผู้เรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง และที่เรียนภาษาจีนในระบบตั้งแต่ 100 ถึง 800 ชั่วโมง เรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้บ่อย 400 ถึง 3000 คำศัพท์ และหลักไวยากรณ์ที่สัมพันธ์กัน

2. HSK ระดับต้น / กลาง (Elementary and intermediate HSK) เหมาะสำหรับผู้เรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง และที่เรียนภาษาจีนในระบบตั้งแต่ 400 ถึง 2000 ชั่วโมง เรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้บ่อย 2000 ถึง 5000 คำศัพท์ และหลักไวยากรณ์ที่สัมพันธ์กัน

3. HSK ระดับสูง (Advanced HSK) เหมาะสำหรับผู้มีความรู้ภาษาจีนระดับสูง เรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้บ่อยตั้งแต่ 5000 ถึง 8000 คำศัพท์ และ หลักไวยากรณ์ที่สัมพันธ์กัน


วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ความได้เปรียบของคนไทยในการเรียนภาษาจีน

        คนที่เคยคิดจะเรียนภาษาจีนแต่คิดว่าภาจีนนั้นยากเลยไม่อยากเรียนวันนี้เราจะมาเสนอแนวคิดใหม่ให้ท่านหันมาเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนภาษาจีนถามว่าเรียนภาษาจีนยากไหม ขอตอบว่าไม่ยากครับ หรืออย่างน้อยจะไม่ยากอย่างที่หลาย ๆ ท่านคิด ถ้าคุณรู้สึกคำตอบนี้ยังไม่ชัดเจนพอก็ขอบอกว่า สำหรับธรรมชาติของคนไทยแล้ว ภาษาจีนเรียนง่ายกว่าภาษาอังกฤษมาก ถ้าให้คนไทยคนหนึ่งที่ไม่เคยเรียนทั้งภาษาทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษมาเริ่มเรียนสองภาษานี้พร้อม ๆ กัน โดยปัจจัยในด้านอื่น ๆ เหมือนกันหมดจะพบว่าเมื่อเรียนไปสักระยะหนึ่ง พูดภาษาอังกฤษยังได้ไม่เท่าไหร่แต่ภาษาจีนไปไกลโลดแล้ว มีนักเรียนจำนวนมากที่เรียนภาษาจีนต่างยอมรับว่า เรียนภาษาจีนแค่ร้อยกว่าชั่วโมงก็สามารถพูดได้มากกว่าภาษาอังกฤษที่เรียนมาตั้งแต่เด็ก ถูกต้องแล้วครับ ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะว่าคนไทยเราได้เปรียบกว่าชาติอื่น ๆ ในการเรียนภาษาจีน กล่าวคือ ภาษาไทยกับภาษาจีนคล้ายคลึงกันมาก

โดยทั่วไปแล้ว คำว่า 'ภาษา' ที่เราพูดถึงในภาษาไทยหมายถึงสองส่วนคือ
1。ภาษาที่พูดออกมาเป็นเสียง ประกอบด้วยระบบการออกเสียง ระบบคำศัพท์ ระบบไวยากรณ์
2。ระบบการเขียน (หรือระบบอักษร)

      ที่คนไทยทั่ว ๆ ไปรู้สึกว่าภาษาจีนนั้นเรียนยาก เพราะไปเห็นระบบการเขียนที่สลับซับซ้อนของภาษาจีน ซิ่งเหมือนกับเป็นภาพลวงตาที่พลอยทำให้เข้าใจผิดว่าภาษาจีนเรียนยากกว่าภาษาอื่น ๆ ในส่วนนี้คงต้องยอมรับว่าระบบการเขียนของภาษาจีนเป็นระบบการเขียนที่สลับซับซ้อนมาก แต่ถ้าวิธีการเรียนการสอนถูกต้อง ก็ไม่ใช่ว่าจะยากเกินไป
      แต่ในอีกด้านหนึ่ง อยากให้คนไทยที่เรียนภาษาจีนมีความมั่นใจว่าคนไทยเราได้เปรียบมากในการเรียนภาษาจีน เพราะนอกจากระบบการเขียนแล้ว ส่วนอื่น ๆ ของภาษาจีนคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก กล่าวคือ นอกจากภาษาบางภาษาในตระกูล Tai (ไท) แล้ว ในโลกนี้คงไม่มีภาษาใดจะใกล้เคียงกับภาษาจีนมากกว่าภาษาไทยได้อีก ความคล้ายคลิงกันระหว่างภาษาจีนกับภาษไทย รวมทั้งความได้เปรียบของคนไทยในส่วนนีจะช่วยให้คนไทยเรียนรู้ภาษาจีนได้เร็วเรียนรู้ได้ง่าย จะไม่ฝืนความรู้สึกและความเคยชินในการใช้ภาษาจนมากเกินไปเหมือนเรียนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ดังนั้นการที่จะทำให้คนเองสามารถพูดภาษาจีนในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันและการทำงานได้พอสมควร จึงไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับคนไทย

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

时间 เวลา ในภาษาจีน



มีเวลา 3 แบบ
  A. แบบที่ 1 ใช้คำว่า '点'(diǎn, นาฬิกา/โมง) บอกหน่วยชั่วโมงและคำว่า '分'(fēn) บอกหน่วยนาที ในภาษาพูด เราสามารถละหน่วยนาที '分' ได้ แต่หากหน่วยนาทีน้อยกว่า 10 จะต้องเติมคำว่า '零'(líng, ศูนย์) ไว้หน้าหน่วยนาทีด้วย
  B. แบบที่ 2 หากหน่วยนาทีอยู่ในช่วง 30 นาทีแรกของชั่วโมง จะใช้คำว่า '过'(guò) ซึ่งมีความหมายว่า 'ผ่าน' ในการบอกเวลา เช่น '六点过八分'(liù diǎn guò bā fēn) หมายถึง 'ผ่านเวลา 6 นาฬิกามาแล้ว 8 นาที' การบอกเวลาแบบนี้จะไม่ละคำว่า '分'(fēn)
  C. แบบที่ 3 หากหน่วยนาทีอยู่ในช่วง 30 นาทีหลังของชั่วโมง จะใช้คำว่า '差'(chà) ซึ่งมีความหมายว่า 'ขาด' ในการบอกเวลา เช่น '差五分六点'(chà wǔ fēn liù diǎn) หมายถึง 'ขาดอีก 5 นาทีจะเป็นเวลา 6 นาฬิกา'
 2) การบอกช่วงเวลา 15 นาทีและครึ่งชั่วโมง
'刻'(kè) หมายถึงช่วงเวลา 15 นาที ซึ่งเท่ากับ ¼ ชั่วโมง
'半'(bàn) หมายถึง “ครึ่ง”
 3) คำศัพท์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวลา
 a. 小时(xiǎo shí) ชั่วโมง (คำบอกระยะเวลาหรือช่วงเวลา)
 b. 分钟(fēn zhōng) นาที (คำบอกระยะเวลาหรือช่วงเวลา)
 c. 上午(shàng wǔ) ช่วงเช้า
 d. 下午(xià wǔ) ช่วงบ่าย
 ตัวอย่างการบอกเวลา
10: 28 十点二十八分(shí diǎn èr shí bā fēn) 十点二十八(shí diǎn èr shí bā)
7:00  七点(qī diǎn) 七点整(qī diǎn zhěng)
9:07  九点零七分(jiǔ diǎn líng qī fēn) 九点零七(jiǔ diǎn líng qī)
4:35  四点三十五分(sì diǎn sān shí wǔ fēn) 四点三十五(sì diǎn sān shí wǔ)
5:15  五点十五分(wǔ diǎn shí wǔ fēn) 五点一刻(wǔ diǎn yī kè)
6:45  六点四十五(liù diǎn sì shí wǔ) 七点差一刻(qī diǎn chà yī kè)
12:30  十二点三十分(shí èr diǎn sān shí fēn) 十二点半(shí èr diǎn bàn)


วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

รอบรู้เมืองจีน

ที่ตั้งตั้งอยู่ด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับว่าใหญ่ที่สุดของทวีปเอเชีย มีพรมแดนติดต่อประเทศต่าง ๆ โดยรอบ 15 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีเหนือ รัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน เคอร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล สิกขิม ภูฐาน พม่า ลาว และเวียดนาม โดยมีเส้นพรมแดนทางบกยาวกว่า 2 หมื่นกิโลเมตร ขณะที่ทิศตะวันออกและทิศใต้จดทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้
ประชากรประมาณ1,347.3 ล้านคน ไม่รวมเขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน (ปี2554)
เมืองหลวงปักกิ่งหรือเป่ยจิงตามภาษาราชการจีน ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศ ศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจการค้า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม เป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ หน่วยงานของสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศ สำนักข่าวจากต่างประเทศ รวมทั้งบริษัทต่างชาติจำนวนมาก 

แผนที่-จีน
นายเติ้ง เสี่ยวผิง
รูปแบบการปกครอง สถาปนา ประเทศเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2492 มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนดำเนินการปกครองประเทศตามแนวทางพื้นฐานของลัทธิมาร์กซ์ -เลนิน และความคิดเหมา เจ๋อตง โดยประยุกต์เข้ากับแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความทันสมัยให้แก่ระบอบสังคมนิยม ของนายเติ้ง เสี่ยวผิง พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นแกนนำในการปกครอง โดยมีพรรคการเมืองอื่นอีก 8 พรรค เป็นแนวร่วม ภายใต้การปกครองในลักษณะสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแบบจีน


เขตการปกครอง
การปกครองส่วนกลางแบ่งออกเป็น 23 มณฑล (รวมถึงไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง (มองโกเลีย หนิงเซี่ย ซินเจียง กวางสี และทิเบต) 4 มหานครที่ขึ้นต่อส่วนกลาง (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ(ฮ่องกง และมาเก๊า) สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคยังแบ่งย่อยออกเป็นจังหวัด (Prefecture) มี 159 จังหวัด อำเภอ (County) มี 2,017 อำเภอ เมือง (City) มี 350 เมือง และเขตในเมืองต่างๆ ประมาณ 630 เขต
ธงชาติจีน
ธงชาติ 
ธงชาติจีนเป็นรูปดาวสีเหลือง 5 ดวงบนพื้นสีแดง ดาวดวงใหญ่หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นผู้นำ ดาวเล็กทั้ง 4 ดวง หมายถึง ชนชั้น ที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมจีน คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อย และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ ซึ่งมีความหมายถึงเอกภาพของประชาชนจีนทุกชนชั้นภายใต้การนำของพรรค คอมมิวนิสต์จีน
ชนชาติจีน
ชนชาติ
มีชนชาติต่าง ๆ อยู่รวมกัน 56 ชนชาติ โดยเป็นชาวฮั่น ร้อยละ 93.3 ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ชนเผ่าจ้วง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตปกครองตนเองกวางสีและมณฑลยูนนาน ชนเผ่าหุยในมณฑลหนิงเซี่ยและกานซู ชนเผ่าอุยกูร์ในมณฑลซินเกียง ชนเผ่าหยีในมณฑลเสฉวน ชนเผ่าทิเบตในเขตปกครองตนเองทิเบตและมณฑลชิงไห่ ชนเผ่าแม้วในมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว ชนเผ่าแมนจู ในมณฑลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชนเผ่ามองโกลในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในและซินเจียง ชนเผ่าไตหรือไทในมณฑลยูนนาน และชนเผ่าเกาซันในไต้หวัน
ศาสนาในจีน
ภาษา
ภาษาจีนกลาง (ผู่ทงฮว้า普通话) เป็นภาษาราชการ ชาวจีนในมณฑลต่างๆ มีภาษาพูดท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น เสฉวน หูหนาน แต้จิ๋ว ไหหลำ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ฮักกา และเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น และการออกเสียงภาษาจีนกลางก็มีสำเนียงเพี้ยนไปตามท้องถิ่น

ศาสนา
ลัทธิขงจื้อ เต๋า พุทธ อิสลาม และคริสต์ โดยเฉพาะความคิดลัทธิขงจื้อและเต๋ามีอิทธิพลหยั่งรากลึกซึ้งในภาษาและ วัฒนธรรมของจีนมานับพันๆ ปี
เงินหยวน
เงินตรา
สกุล เงินเรียกว่า “เหรินหมินปี้” (人民币)โดยมีหน่วยเรียกเป็น “หยวน” (元)มีอัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน เท่ากับ 4.68 บาท 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 6.504 หยวน 1 ยูโร เท่ากับ 9.131 หยวน (ปรับปรุงเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2554

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ภาษาจีนวันละคำ

1.    我明白了。
wŏ míngbái le.
หว่อ หมิง ป๋าย เลอ
ฉันเข้าใจแล้ว
I see.

2.    我不干了!
wŏ bú gàn le.
หว่อ ปู๋ กั่น เลอ
ฉันไม่ทำแล้ว
I quit!

3.    我也是。
wŏ yě shì.
หวอ เย่ ซื่อ
ฉันก็ด้วย / ฉันก็เป็นเหมือนกัน/ฉันก็เหมือนกัน
Me too.

4.    天哪!
tiān na !
เทียน หน่า
สวรรค์ ! / พระเจ้า!
My god!

5.    不行!
bù xíng!
ปู้ สิง
ไม่ได้ /ไม่มีทาง
No way!

6.    来吧!
lái ba!
หลาย ป่ะ
มาเถอะ / มาเหอะ
Come on.

7.    等一等。
děng yì děng.
เติ่ง อี้ เติ่ง
รอสักครู่
Hold on.

8.    我同意。
wŏ tóngyì.
หว่อ ถง อี้
ฉันเห็นด้วย
I agree

9.    还不错。
hái bú cuò.
หาย ปู๋ ชั่ว
ไม่เลวเลยทีเดียว
Not bad.

10.   还没。
hái méi.
หาย เหมย
ยังไม่
Not yet.

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ก่อนเรียนภาษาจีน จะต้องรู้อะไรก่อน?

เราจะต้องมารู้ว่าภาษาจีนมีส่วนประกอบอะไรบ้าง? พินอิน(PINYIN)คืออะไร? ตัวอักษรจีนคืออะไร? 
และการอ่านออกเสียงในภาษาจีน มีทักษะอย่างไรกันก่อนนะค่ะ..... ^^





พินอิน หรือ Pinyin คือ ตัวหนังสือจีนเป็นตัวหนังสือรูปภาพ ไม่ใช่ตัวหนังสือที่เกิดจากการประสมพยัญชนะแบบภาษาไทยหรืออังกฤษ ทำให้ชาวต่างชาติที่เริ่มเรียนภาษาจีนประสบปัญหาการเรียนมาก แม้กระทั่งคนจีนเองก็เช่นกัน การจะจำตัวหนังสือให้ได้มากๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนตัวหนังสือจีน คนจีนจึงได้ประดิษฐ์ชุดอักษรที่ใช้ในการสะกดเสียงตัวหนังสือจีนหรือ “สัทอักษร”ขึ้นมา

      ปัจจุบันนี้มีสัทอักษรใช้กันอยู่สองแบบใหญ่ๆคือ แบบ จู้อิน ZhuYin และแบบ พินอิน PinYin โดยจู้อินนั้นนิยมใช้ในไต้หวัน สิงคโปร์ ส่วนพินอิน นิยมใช้กันมากในจีนแผ่นดินใหญ่ และประเทศอื่นๆที่มีการติดต่อกับจีนแผ่นดินใหญ่ หรือขออาจารย์จากจีนแผ่นดินใหญ่ไปช่วยสอน รวมถึงประเทศไทยด้วย ทุกวันนี้การสอนภาษาจีนส่วนใหญ่ในประเทศไทยก็ใช้พินอิน

       จู้อิน  และ  พินอิน   มีหลักการใช้งานเหมือนกัน     เพียงแต่สัญลักษณ์ที่นำมาใช้ไม่เหมือนกันเท่านั้น พินอินใช้ตัวอักษรโรมัน เช่น a, b, c เป็นต้น มาเป็นตัวพยัญชนะและสระ คนส่วนมากจะคุ้นเคยกับตัวอักษรนี้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องท่องจำเพิ่มเติม ส่วนจู้อิน เป็นสัญลักษณ์พิเศษเฉพาะ ผู้เรียนต้องท่องจำตัวสัญลักษณ์จู้อินเพิ่มเติม

       ในที่นี้จะเรียกได้ว่า พินอินคือคำออกเสียงภาษาจีนกลางนั่นเอง


องค์ประกอบของสัทอักษรพินอิน
1. พยางค์
หน่วยเสียงพื้นฐานของระบบเสียงภาษาจีนกลางปัจจุบันคือพยางค์ แต่ละพยางค์ประกอบขึ้นจากหน่วยเสียง 3 ส่วน ได้แก่ พยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ โดยทั่วไปแล้ว ตัวอักษรจีนหนึ่งตัวจะอ่านออกเสียงหนึ่งพยางค์

2. พยัญชนะ

พยัญชนะคือเสียงนำที่ขึ้นต้นในแต่ละพยางค์ ในภาษาจีนกลางมีพยัญชนะทั้งหมด 23 เสียง ได้แก่

 b  p m  f  d  t  n  l  g  k  h  j  q  x  zh  ch  sh  r  z  c  s  y  w.

3. สระ

สระหมายถึงเสียงที่ออกตามหลังพยัญชนะในแต่ละพยางค์ สระในภาษาจีนแบ่งออกเป็นเสียงสระล้วนและเสียงที่ประกอบขึ้นจากเสียงสระเป็นหลัก(เนื่องจากระบบเสียงภาษาจีนกลางได้รวมเอาเสียงตัวสะกดไว้กับเสียงสระ สระประเภทนี้จึงหมายถึงเสียงสระที่ประสมรวมกับเสียงสะกด ซึ่งเทียบได้กับเสียงตัวสะกดแม่กน /n/ และแม่กง/ng/ ในภาษาไทย) สระจำนวนหนึ่งสามารถประสมกันกลายเป็นสระประสม และเมื่อเรานำสระมาประสมไว้หลังพยัญชนะก็จะกลายเป็นพยางค์ในระบบสัทอักษรพินอิน ในภาษาจีนกลางมีสระทั้งหมด 36 เสียง ได้แก่

 a  o  e  i  u  ü  ai   ei  ui   ao  ou   iu   ie  üe   an   en   in   un   ün   ang  eng  ing  ong  er   ia  iao   ian  iang  iong   ua   uo   uai   uan  uang  ueng   üan.

4. การอ่านรวมเป็นพยางค์

ในภาษาจีนกลาง มีพยัญชนะและสระอยู่จำนวนหนึ่งที่ประสมรวมกันเป็นเสียงพยางค์เฉพาะ เวลาอ่านเราจะไม่สะกดแบ่งพยางค์ประเภทนี้ออกเป็นเสียงพยัญชนะและเสียงสระ แต่จะอ่านรวมออกมาเป็นพยางค์ พยางค์เฉพาะเหล่านี้มีทั้งหมด 16 เสียง ได้แก่

 zhi  chi  shi  ri  zi  ci  si  ye  yi  yin  ying  wu  yu  yue  yun  yuan.

5. พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะ

นอกจากนี้หน่วยเสียงจำนวนหนึ่งในระบบเสียงภาษาจีนกลางจะไม่มีเสียงพยัญชนะ พยางค์ประเภทนี้เรียกว่า พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะ เช่น

 ān 安 (สงบสุข);  a 啊 (คำช่วยน้ำเสียง)

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สวัสดี หนีห่าว!


      เรามาเริ่มเข้าสู่บทเรียนภาษาจีนกลางกันดีกว่า สำหรับการพบกันครั้งแรกขอเริ่มต้นด้วยบทเรียนที่เกี่ยวกับการทักทายแบบจีน ๆ กันนะคะ เพื่อว่าต่อไป เราจะได้นำบทเรียนนี้ไปใช้ได้เลย

สถานการณ์ที่  : นักเรียนสองคนทักทายกัน
A:你好!          อ่านว่า  หนีห่าว                         แปลว่า  สวัสดีครับ/ค่ะ
B:你好!          อ่านว่า  หนีห่าว                         แปลว่า  สวัสดีครับ/ค่ะ
หมายเหตุ        你 อ่านว่า  หนี่                              แปลว่า   คุณ , เธอ
                       อ่านว่า   ห่าว                            แปลว่า   ดี
                   你好! เป็นคำทักทายที่ใช้ได้ทุกสถานที่และทุกช่วงเวลาของวัน มีความหมายกลาง ๆ คล้ายกับการทักทายด้วยคำว่า “Hello” ในภาษาอังกฤษ

สถานการณ์ที่  : นักเรียนทักทายอาจารย์ในชั้นเรียน
นักเรียน  : 老师 好!       อ่านว่า เหล่าซือห่าว          แปลว่า  สวัสดีครับ/ค่ะอาจารย์
อาจารย์   : 你们 好!     อ่านว่า  หนี่เมินห่าว           แปลว่า  สวัสดี(พวกคุณ = นักศึกษาทุกคน)
หมายเหตุ   老师               อ่านว่า  เหล่าซือ              แปลว่า อาจารย์ , ครู
              你们              อ่านว่า  หนี่เมิน                แปลว่า พวกคุณ
              (คำว่า 们 เป็นคำเติมท้าย ทำให้คำนามหรือคำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าเป็นพหูพจน์)

สถานการณ์ที่  :พนักงานต้อนรับของโรงแรมทักทายแขกที่มาพัก

พนักงานต้อนรับ : 您 好!            อ่านว่า หนินห่าว                 แปลว่า  สวัสดีครับ/ค่ะท่าน

แขกที่มาพัก      : 你好!         อ่านว่า  หนีห่าว                  แปลว่า  สวัสดีครับ/ค่ะ

หมายเหตุ                    nín        อ่านว่า หนิน                     แปลว่า  ท่าน

                     您 好!   เป็นคำทักทายที่มักใช้กับผู้ที่มีอาวุโสมากกว่า หรือเมื่อต้องการแสดงความคารพนับถือ หรือเมื่อต้องการให้เกียรติผู้ที่สนทนาด้วย 

                นอกจากนี้แล้วในภาษาจีนกลางยังมีคำทักทายที่มีการระบุช่วงเวลาให้เลือกใช้อีกด้วย เช่น

早安!       อ่านว่า จ่าวอาน                 แปลว่า อรุณสวัสดิ์/สวัสดีตอนเช้า
早上好! อ่านว่า จ่าวซ่างห่าว             แปลว่า อรุณสวัสดิ์/สวัสดีตอนเช้า
午安!    อ่านว่า อู่อาน                    แปลว่า สวัสดีตอนบ่าย
晚上好    อ่านว่า  หว่านซ่างห่าว          แปลว่า สวัสดีตอนกลางคืน

    ว่าด้วยเรื่องของการกล่าวทักทายเมื่อพบกันแล้วสุดท้ายของฉบับนี้ขอฝากคำกล่าวอำลาไว้ด้วยนะคะ

晚安!    อ่านว่า    หว่านอาน      แปลว่า  ราตรีสวัสดิ์ (เผื่อเอาไว้ Say goodnight กับใครๆ) 
再见!  อ่านว่า    จ้ายเจี้ยน       แปลว่า  ลาก่อน

                โอกาสต่อไป เราจะมาเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับการแนะนำตัว รวมถึงเรื่องความสำคัญและรายละเอียดของสัทอักษร หรือตัวอักษรภาษาอังกฤษที่กำกับอยู่ท้ายตัวอักษรจีนกันนะคะ  พบกันใหม่ในโอกาสหน้าค่ะ  ^U^